วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่4

แบบฝึกหัดบทที่4

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบฝึกหัด บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตยกตัวอย่าง อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด
1.1 การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
- แผ่นซีดี
- ฮาร์ดดิสท์
- USB ไดร์ฟ
1.2 การแสดงผล
- จอภาพ คอมพิวเตอร์
- จอโปรเจ็กเตอร์
- เครื่องพิมพ์
1.3 การประมวลผล
- ซอฟต์แวร์
- ฮาร์ดแวร์
- OS
1.4 การสื่อสารและเครือข่าย
- อินเตอร์เน็ต
- การประชุมผ่านทางจอภาพ
- ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์
2. ให้นิสิต นำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้าย ที่มีความสัมพันธ์กัน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
- 8 (โปรแกรมระบบห้องสมุด จัดเป็ฯซอฟต์แวร์ประเภท..)
Information Technology
- 3 ( เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับ สารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการนำไปใช้)
คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
- 1 (ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล)
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
- 6 (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)

ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่นต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 10 (ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ)
ซอฟต์แวร์ระบบ
- 7 (โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์)
การนำเสนอบทเรียนในรูปแบบมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ตามระดับความสามารถ
- 9 (CAI)
EDI
- 5 (การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย)
การสื่อสารโทรคมนาคม
- 4 (มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน คือ Sender-Medium และ Decoder
บริการชำระภาษีออนไลน์
- 2 (e-Revenue)

แบบฝึกหัด บทที่2

แบบฝึกหัดบทที่2



1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ
1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
http://www.studentloan.or.th
http://www.msu.ac.th
http://www.kku.ac.th
1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
http://www.moc.go.th
http://www.gpef.or.th
http://www.doae.go.th
1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
www.chiangmainews.co.th
www.thairath.com
www.matichon.co.th
1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
www.industry.go.th
www.dip.go.th
www.diw.go.th
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
http://www.cancer.org
http://www.cdc.gov
http://www.familydoctor.org
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
http://www.glo.or.th/
http://www.rpcafamily.com/
http://www.greatcadettutor.com/
1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
http://www.acat.or.th/
http://www.coe.or.th/
http://www.thaiengineering.com/
1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
http://www.thaigreenagro.com
http://www.moac.go.th
http://www.doae.go.th
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ
http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/
http://www.tddf.or.th/tddf/
http://lib02.kku.ac.th/dsskku/
2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่าง น้อย 3 อย่าง
http://tdc.thailis.or.th/tdc/
http://reg.msu.ac.th
http://www.msu.ac.th
3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
- สามารถ Download เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ฟรีจากhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/
- สามารถลงทะเบียนเรียน ตรวจสอบข้อมูลการศึกษา ได้จากhttp://reg.msu.ac.th
- สามารถติดตามข่าวสารจากทางมหาวิทยาลัย และดูรายละเอียดต่างๆในหลักสูตรได้จากhttp://www.msu.ac.th
อ้างอิง
http://aruneelpru.wordpress.com/category/กฏหมายในชีวิตประจำวัน/

การย้ายที่อยู่

การย้ายที่อยู่

การย้ายออก
กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หนักงานองค์การของรัฐ)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
- ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1. แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ปรากฎข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน
การแจ้งย้ายออกโดยไม่ทราบที่อยู่ (ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางของเขต)
เจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นใครหรือไปอยู่ที่ใด ให้แจ้งการย้ายออกภายใน30 วัน นับแต่วันครบ 180 วันโดยไม่ทราบที่อยู่ โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวหรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
-ในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้มาดำเนินการแทน
การย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ (ถูกย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง) ประสงค์ที่จะย้ายออก (ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียน ที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียน บ้านได้ บุคคลที่มีรายการในทะเบียนบ้านกลางไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดและให้นายทะเบียนรับรองสำเนารายการ เพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่าง ๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้)
กรณีผู้ร้อง (เจ้าตัว) มาดำเนินการเอง 
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หรือ พนักงานองค์การของรัฐ
- ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย ต้องมีใบแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความพร้อมทั้งหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายมาแสดงด้วยอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น
- ใบสุทธิ หรือใบ ร.บ. หรือปริญญาบัตร
- ใบอนุญาตขับขี่ฯ
- บัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา
- ส.ด.8, ส.ด.43
- หนังสือเดินทาง
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการย้าย
- หนังสือมอบหมายของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการย้ายออก
กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ 
- สูติบัตร
- บิดา หรือมารดาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเองพร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย
-กรณีไม่ปรากฏตามที่กล่าว ต้องดำเนินการสอบปากคำผู้มาแจ้งย้ายด้วย
- กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดง
การย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
- เช่นเดียวกับการย้ายออก กรณีที่บุคคลเดินทางกลับจากต่างประเทศ – ผู้ย้ายที่อยู่ไปต่างประเทศตามระเบียบเดิมได้นำใบแจ้งการย้ายที่ อยู่มาขอย้ายเข้า นายทะเบียนจะดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้า หากเป็นใบแจ้งย้ายมีรหัสประจำตัว ประชาชนแล้ว นำใบแจ้งย้ายไปแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าที่สำนักทะเบียนใดก็ได้ และหากเป็นใบแจ้งย้ายแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน จะดำเนินการเพิ่มชื่อกรณีการใช้หลักฐานใบแจ้งย้ายที่อยู่แบบเดิม
- บัตรประจำตัว (ถ้ามี)
- หนังสือเดินทางที่มีตราประทับลงตราวีซ่าเข้ามาในประเทศไทย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ย้ายไปต่างประเทศตามระเบียบเดิม) หากสูญหายจะต้องแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความเพื่อขอออกใบแทนใบ แจ้งย้ายและเพิ่มชื่อให้ กรณีเช่นนี้จะต้องมีการสอบปากคำเจ้าบ้านและผู้ร้อง
หนังสือเดินทางที่มีตราประทับลงตราวีซ่าเข้ามาในประเทศไทย
การย้ายเข้า 
ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง 
    - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
    - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
  • กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
    ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน

    - บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว
    - บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย
    - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
    - ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน 1 และ 2 ตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า
    ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
    - นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ให้ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน
การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
กฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ย้ายที่อยู่ หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะต้องมี หนังสือมอบหมาย ปรากฎข้อความชัดเจนว่าบุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่บุคคลใดบ้าง ย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง - บัตรประจำตัวของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- คำยินยอมของเจ้าบ้านเป็นหนังสือ
- เสียค่าธรรมเนียม 5 บาท
ใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
กรณีสูญหาย ให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความ
กรณีชำรุด ผู้แจ้งจะต้องนำใบแจ้งการย้ายที่ชำรุดมาคืนด้วย หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

การสมรส

การสมรส

การสมรส หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า “แต่งงาน” นั้นก็คือ การที่ชายหญิง 2 คน ตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ซึ่งตามกฏหมายปัจจุบันนั้น กำหนดว่าการสมรสต้องมีการจดทะเบียนสมรส จึงจะมีผลตามกฏหมาย ดังนั้น ถ้าไม่มีการจดทะเบียนสมรส แม้จะมีการจัดงานพิธีมงคลสมรสใหญ่โตเพียงใด กฏหมายก็ไม่ถือว่าชายหญิงคู่นั้นได้ทำการสมรสกันเลย
การจดทะเบียนสมรสนั้น ให้ไปจดกับนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ เลย และต้องมีการแสดงถึงความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ว่าต้องการที่จะทำการสมรสกันต่อหน้านายทะเบียนด้วย แล้วให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้
ปกติแล้ว การสมรสจะมีผลตามกฏหมายเมื่อได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่ในกรณีพิเศษ เช่น ถ้ามีสงครามเกิดขึ้น ทำให้ชายหญิงไม่สามารถไปจดทะเบียนที่อำเภอได้ ในกรณีนี้ ชายหญิงคู่นั้นอาจตกลงที่จะสมรสกัน ต่อหน้าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ (มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์) ที่อยู่ในที่นั้น และต่อมาเมื่อสงครามสงบ ชายหญิงคู่นั้นก็ต้องไปทำการจดทะเบียนสมรสภายใน 20 วัน ซึ่งกรณีนี้ กฏหมายถือว่า ชายหญิงคู่นี้ ได้ทำการสมรสกันมาตั้งแต่วันแรกที่ได้ตกลงสมรสกัน
ประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสนั้น นอกจากกฏหมายจะถือว่า ชายหญิงคู่นั้น ได้เป็นสามีภริยากันตามกฏหมายแล้ว ยังมีผลที่ตามมาอีกหลายประการ เช่น
1.      เป็นหลักประกันความมั่นคงได้ว่า ถ้าได้มีการจดทะเบียนแล้ว คู่สมรสอีกฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสอีกไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนไปทำการจดทะเบียนเข้า ผลคือ การจดทะเบียนสมรสครั้งนี้ กฏหมายถือว่า เป็น โมฆะ (ใช้ไม่ได้) ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะแจ้งให้นายทะเบียนเพิกถอน หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ นอกจากนี้ คู่สมรสฝ่ายที่ไปจดทะเบียนซ้อน ก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
2.      ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
3.      ในกรณีที่เป็นความผิดที่กระทำระหว่างสามีภรรยา เช่น สามี หรือภริยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลักทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือในความผิดฐานอื่น เช่น ฉ้อโกง ยักยอก ทำให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก ซึ่งมีผลคือ สามีหรือภริยา นั้นไม่ต้องรับโทษตามกฏหมาย
4.      ในเรื่องอำนาจในการดำเนินคดีอาญาแทน ถ้าสามีภริยาถูก ทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถฟ้องคดีได้เอง ภริยาหรือสามีที่ยังมีชีวิตอยู่ (ที่ได้จดทะเบียนตามกฏหมาย) สามารถร้องทุกข์ (แจ้งความ) ต่อตำรวจหรือฟ้องศาลแทนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นกรณีที่ผู้ตายหรือผู้บาดเจ็บไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ ในคดีหมื่นประมาทที่กระทำต่อสามีหรือภริยา ถ้าต่อมาสามีหรือภริยานั้นได้ตาย ก่อนร้องทุกข์ (แจ้งความ) ภริยาหรือสามีที่ยังมีขีวิตอยู่ก็ร้องทุกข์หรือ ฟ้องหมิ่นประมาทได้เองด้วย เพราะกฏหมายให้ถือว่า เป็นผู้เสียหาย
5.      ถ้าคู่สมรสเป็นผู้เยาว์ที่มีอายุ ๑๗ ปีขึ้นไป เมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้ว กฏหมายถือว่า ผู้นั้นได้บรรลุนิติภาวะแล้ว และสามารถทำกิจการงานต่างๆ ได้เอง โดยไม่ต้องเป็นได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง และแม้จะหย่ากันก่อนอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ยังคงเป็นผู้บรรลุนิติภาวะอยู่
คุณสมบัติของผู้ที่จะขอจดทะเบียนสมรส
1.      มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
2.      ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามรถ
3.      ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา
4.      ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
5.      ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
6.      ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
7.      หญิงหม้ายจะสมรสใหม่เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
-          คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
-          สมรสกับคู่สมรสเดิม
-          มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์
-          ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
8.      ชายหญิงที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.      คู่สมรสต้องไปปรากฏตัวต่อหน้านายทะเบียนทั้ง 2 คน
2.      บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของคู่สมรส
3.      พยานบุคคล 2 คน ถ้าไม่มีนายทะเบียนจะหาให้แต่ต้องเสียเงินค่าช่วยการพยาน คนละ 2.50 บาท
4.      ถ้าคู่สมรสทั้ง 2 ฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เยาว์(อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ถ้าบิดามารดาไม่ให้ความยินยอมด้วยตนเองให้นำหนังสือแสดงความยินยอมของบิดามารดาไปด้วย
5.      ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสีย เว้นแต่ช่วยการพยานที่นายทะเบียนหาให้คนละ 2.50 บาท
6.      คู่สมรสอาจขอให้นายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะประกอบพิธีสมรสไปจดทะเบียนสมรสนอกสถานที่ได้ โดยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนพร้อมแจ้งความประสงค์และรายละเอียด ชื่อตัว ชื่อสกุล ของคู่สมรส ระบุวันเวลา สถานที่ที่จะให้ไปจดทะเบียน และเพื่อความสะดวกควรจัดยานพาหนะรับ-ส่งด้วย กรณีนี้ต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงเช่นเดียวกับการจดทะเบียนในสำนักทะเบียน

การหมั้น


การหมั้น

การหมั้น เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้นจะทำการสมรสกันในอนาคต สัญญาหมั้นไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสได้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อตกลงในเรื่องเบี้ยปรับกันเอาไว้ ข้อตกลงนั้นก็เป็นอันใช้บังคับไม่ได้
ตัวอย่าง นายแดง และนางสาวสร้อยศรีได้ทำการหมั้นกัน ต่อมา นางสาวสร้อยศรีเห็นว่านายแดงยากจนไม่อยากจะสมรสด้วย ที่ตกลงรับหมั้น ในตอนแรกนั้นเพราะคิดว่านายแดง เป็นคนมีฐานะดี นายแดงจะมาขออำนาจ ศาลบังคับให้นางสาวสร้อยศรีทำการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะในเมื่อฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดไม่สมัครใจที่จะเป็นสามีภริยากันแล้ว หากว่าบังคับให้ทำการสมรสกัน ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวอย่างแน่นอน
บุคคลที่จะหมั้นกันได้นั้น ทั้งชายและหญิงจะต้องมีอายุอย่างน้อยสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ กฎหมายกำหนดอายุของทั้ง 2 คน ว่าแต่ละคนต้องมีอายุ ขั้นต่ำ 17 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นหากชายอายุ 17 ปี หมั้นกับหญิงอายุ 15 ปี การหมั้นย่อมเป็นโมฆะ
เราคงได้ยินกันเสมอว่า บางคนเกิดมาก็มีคู่หมั้นอยู่แล้ว พ่อแม่เป็นคนหมั้นไว้ให้ตั้งแต่บุตรยังอยู่ในท้อง เพื่อไม่ให้เงินทองรั่วไหลไปไหน แต่ในแง่กฎหมายแล้ว การหมั้นยังไม่ได้เกิดขึ้น เพราะในขณะทำการหมั้นนั้นชายและ หญิงอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์
บุคคลบางประเภทแม้มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ทำการหมั้นกันไม่ได้เลย บุคคลประเภทนี้ได้แก่
-  คนวิกลจริต คนบ้า หรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
-  บุคคลผู้เป็นบุพการี (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) จะหมั้นกับผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ) ไม่ได้
-  บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว
-  บุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว    บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำการหมั้นได้แก่
บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
-  บิดาหรือมารดาเพียงคนใดคนหนึ่ง ในกรณีที่อีกคนหนึ่งถึงแก่กรรม หรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้
-  ผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรม
-  มารดา ในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
-  ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมโดยตรง หรือมีบุคคลดังกล่าวแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ปราศจากการให้ความยินยอมในกรณีที่ต้องให้ความยินยอม นั้นเป็นการหมั้นที่ไม่สมบูรณ์อาจถูกเพิกถอนได้
ของหมั้น
ของหมั้น คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำการหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรสกับหญิง
ตามประเพณีของไทยเรานั้น ฝ่ายชายเป็นฝ่ายที่นำของหมั้นไปให้แก่ฝ่ายหญิง ที่กล่าวว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงนั้นไม่ได้หมายความเฉพาะชายหญิงคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง หากบุคคลเหล่านี้ทำการหมั้น แทนชายหรือหญิง การหมั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อชายหรือหญิงคู่หมั้นตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
ตัวอย่าง นายแดงอายุ 22 ปี รักนางสาวสุชาดา ซึ่งมีอายุ 19 ปี เป็นอันมาก แต่เนื่องจากนางสาวสุชาดา ไม่ชอบตน นายแดงจึงไปขอหมั้น นางสาวสุชาดากับนางสร้อย มารดาของนางสาวสุชาดา โดยที่นางสาวสุชาดา ไม่ได้รู้เห็นยินยอมแต่อย่างใด นางสร้อยได้ตกลงรับหมั้นนายแดง และนายแดงได้ส่งมอบแหวนเพชรให้เป็นของหมั้นในวันนั้น หากนางสาวสุชาดาไม่ยอมทำการสมรสกับนายแดงไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นายแดงจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางสาวสุชาดาไม่ได้ เพราะสัญญาหมั้นรายนี้นางสาวสุชาดาไม่ได้เป็นคู่สัญญาแต่อย่างใด ของหมั้นนั้นจะต้องมีการหมั้นและส่งมอบของหมั้นในขณะทำการหมั้น
ตัวอย่าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1852/2506 จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อ ให้แต่งงานกับบุตรจำเลยแต่จำเลยไม่มีเงิน จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ ต่อมาบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญากู้ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ ทรัพย์สินในวันข้างหน้า ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิของหญิงเมื่อได้ทำ การสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่า ได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย แล้วโจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ไม่ได้ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีหนี้เดิมต่อกัน
ในกรณีเช่นนี้ถือว่าสัญญากู้เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นในอนาคต

สินสอด
สินสอด เป็นทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
บุคคลที่อยู่ในฐานะจะรับสินสอดได้คือ
-  บิดามารดาของหญิง
-  ผู้ปกครองของหญิง
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายชายต้องรับผิดชอบ ชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ แต่ถ้าเหตุที่ไม่มีการสมรสนั้นเกิดจากความผิดของฝ่ายชายแล้ว ชายไม่มีสิทธิเรียกคืนสินสอดมีลักษณะแตกต่างจากของหมั้นที่ว่า ของหมั้นต้องมีการส่ง มอบให้แก่ฝ่ายหญิงในขณะที่ทำการหมั้น แต่สินสอดนั้นจะส่งมอบให้แก่บุคคล ที่มีสิทธิจะรับเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมทำการสมรสกับตน หากว่าได้ให้ทรัพย์สินเป็นเพียงเพื่อแก้หน้าบิดามารดาของ ฝ่ายหญิงที่ตนพาลูกสาวของเขาหนีแล้ว ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้ เพราะสิ่งของที่ให้กันนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
คำพิพากษาฎีกาที่ 126/2518 เงินที่ชายให้แก่มารดาหญิงเพื่อ ขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มีเจตนาจะสมรสกัน ตามกฎหมาย ไม่ใช่สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับ ชาย ชายเรียกคืนไม่ได้


การหย่า



การหย่า


การหย่านั้นถือเป็นการสิ้นสุดการสมรส การหย่าทำได้ 2 วิธี คือ
1.หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่า การหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงรายมือชื่อย่างน้อย 2 คน และถ้าการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส(ตามกฎหมายปัจจุบัน)การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์
1.1 การหย่าโดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย ณ สำนักงานทะเบียนเดียวกับสถานที่แจ้ง ให้กระทำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.   หนังสือข้อตกลงการหย่าหรือสัญญาการหย่า ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
2.   บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของทั้งสองฝ่าย
3.   ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ
4.   พยานบุคคล 2 คน ถ้าไม่มีนายทะเบียนจะหาให้แต่ต้องเสียค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท
5.   ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสียเว้นแต่ค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหาให้ 2.50 บาท
1.2 การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ต่างสำนักงานทะเบียนที่แจ้งให้กระทำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ โดยต่างฝ่ายต่างยื่นคำร้อง ณ สำนักงานทะเบียนที่ตนสะดวก
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.      บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการทั้งสองฝ่าย
2.      ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ
3.      หนังสือยินยอมการหย่า ซึ่งพยานลงชื่อการหย่าอย่างน้อย 2 คน
4.      ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสีย เว้นแต่ค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท
2.หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่าจึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น เหตุที่จะฟ้องหย่าได้คือ
2.1 สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2.2 สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติเช่นนั้นเป็นความผิด อาญาหรือไม่ ถ้าความประพฤติเช่นนั้นเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
- ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
- ได้รับความดูถูกเกลียดชัง หากยังคงสถานะของความเป็นสามีภริยากันต่อไป
- ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
คำว่า “ประพฤติชั่ว” เช่น สามีเป็นนักเลงหัวไม้ เที่ยวรังแกผู้อื่น เล่นการพนัน หรือสูบฝิ่น กัญชา เป็นต้น
1.3   สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหมิ่นประมาทหรือ เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเป็นการร้ายแรงด้วย อีกฝ่ายจึงจะฟ้องหย่าได้
1.4  สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
การละทิ้งร้างนี้ หมายถึง การที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากไม่เป็นการจงใจ เช่น ต้องติดราชการทหารไปชายแดน เช่นนี้ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง
1.5   ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกจำคุกเกิน ๑ ปี โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนในความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเห็นใจ และการเป็นสามีภริยากันจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อยเกินควร อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
1.6  สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน ๓ ปี หรือแยกกันอยู่ ตามคำสั่งเป็นเวลาเกิน ๓ ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.7   สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.8    สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นต้องถึงขนาดที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนโดยเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.9     สามีหรือภริยาเป็นบ้าตลอดมาเกิน ๓ ปี และความเป็นบ้านนั้น มีลักษณะยากที่จะหายได้ และความเป็นบ้าต้องถึงขนาดที่ จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.10  สามีหรือภริยาทำผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือ ในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีขี้เหล้า ชอบเล่นการพนัน ย่อมทำหนังสือทัณฑ์บนไว้กับภริยาว่าตนจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก แต่ต่อมากลับฝ่าฝืน เช่นนี้ ภริยาฟ้องหย่าได้
1.11   สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้โรคดังกล่าว ต้องมีลักษณะเรื้อรัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.12  สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจ ร่วมประเวณีได้ตลอดกาล คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ผลของการหย่า
1. ผลของการหย่าโดยความยินยอม การหย่าโดยความยินยอมนั้น ถ้าการสมรสเป็นการสมรสที่ไม่ต้องจดทะเบียน (การสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย) การหย่าโดยความยินยอมก็มีผลทันทีที่ทำเป็นหนังสือถูกต้อง และลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมทั้งมีพยานรับรอง 2 คน แต่ถ้าการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ต้องจดทะเบียน (ตามบรรพ 5) การหย่าโดยความยินยอมนั้นนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภออีกด้วย การหย่าจึงจะมีผลตามกฎหมาย                                                                —  – ผลของการหย่าต่อบุตร คือ ใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร ตามกฎหมาย ให้ตกลงกันเองได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ หรือไม่ได้ตกลง ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ใครจะเป็นคนจ่ายก็เช่นกันคือให้ตกลงกันเองว่า ใครจะเป็นผู้จ่าย ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
- ผลเกี่ยวกับสามีภริยา ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงทันที และไม่มีหน้าที่ใด ๆ ต่อกันเลย
- ผลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าเป็นเกณฑ์
2. ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป
- ผลเกี่ยวกับบุตร  ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้ ส่วนเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด
- ผลเกี่ยวกับคู่สมรส แม้กฎหมายจะถือว่า การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ตาม แต่ในระหว่างคู่สมรสก็เกิดผลทางกฎหมายบางประการคือ
1. มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้จากสามีที่อุปการะหญิงอื่นหรือจากภริยาที่มีชู้และจากชายชู้หรือหญิงอื่นแล้วแต่กรณี  และค่าทดแทนเพราะเหตุหย่าตามข้อ ๓.๒ (๓), (๔), (๘) โดยเป็นเพราะความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์คือเหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงอย่างเดียว และการหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมาย กำหนดว่า จะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งมาในคดีที่ฟ้องหย่าด้วย มิฉะนั้นก็หมดสิทธิ